ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ (Abstract) : ความแตกต่างในการนำเสนอข่าวความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างหนังสือพิมพ์ไทยและหนังสือพิมพ์มาเลเซีย กรณีศึกษา เหตุการณ์ความไม่สงบ หน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

       สุธางศุรัตน์ สุบรรณรักษ์ (2549) ศึกษาเรื่อง “ความแตกต่างในการนำเสนอข่าวความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างหนังสือพิมพ์ไทยและหนังสือพิมพ์มาเลเซีย กรณีศึกษา เหตุการณ์ความไม่สงบ หน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส” ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ใน 3 ประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ แหล่งข่าว ประเด็นข่าว และภาพตัวแทน
       โดยในประเด็นแหล่งข่าวพบว่า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมีแหล่งข่าวที่ได้ถูกนำเสนอมากที่สุด (ทั้งพื้นที่และความถี่) คือ แหล่งข่าวฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ รองลงมาคือผู้สื่อข่าว และแหล่งข่าวประเภทผู้ตรวจสอบอำนาจรัฐฝ่ายตรงข้าม และแหล่งข่าวที่ไม่ปรากฏเลย คือ ผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของรัฐ และกลุ่มของผู้ที่มีความคิดเห็นเป็นกลาง ส่วนหนังสือพิมพ์มาเลเซีย พบว่า แหล่งข่าวที่ถูกนำเสนอมากที่สุด คือแหล่งข่าวผู้มีอำนาจรัฐซึ่งใกล้เคียงกับผู้ตรวจสอบอำนาจรัฐ รองลงมาเป็นฝ่ายประชาชน สำหรับพื้นที่ของแหล่งข่าวในหนังสือพิมพ์มาเลเซีย พบว่า แหล่งข่าวฝ่ายตรวจสอบอำนาจรัฐบาลไทยมีพื้นที่มากที่สุด และยังพบว่าหนังสือพิมพ์มาเลเซียมีการนำเสนอแหล่งข่าวที่หลากหลายมากกว่า และมีการกระจายพื้นที่และความถี่ให้แก่แหล่งข่าวหลายๆฝ่าย
      ในส่วนของประเด็นข่าว พบว่า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเน้นการนำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐเป็นอย่างมาก ในขณะที่หนังสือพิมพ์มาเลเซียจะเน้นเสนอข่าวจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มากกว่า และในส่วนของภาพตัวแทน พบว่า กลุ่มผู้ที่มีอำนาจรัฐมักถูกสะท้อนภาพเป็น “พระเอก” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ส่วนในหนังสือพิมพ์มาเลเซียมักถูกสะท้อนภาพเป็น “พวกบ้าอำนาจ” กลุ่มผู้ตรวจสอบอำนาจรัฐหรือฝ่ายตรงข้ามรัฐมักถูกสะท้อนภาพเป็น “พวกไม่สร้างสรรค์” หรือ “พวกจุ้นจ้าน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่ในหนังสือพิมพ์มาเลเซียไม่ปรากฏภาษาที่สะท้อนภาพคนกลุ่มนี้
      ส่วนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและมาเลเซียต่างสะท้อนภาพเดียวกันนั่นคือ “เหยื่อ” หรือ “ผู้เคราะห์ร้าย” และส่วนของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนั้น ทั้งหนังสือพิมพ์ไทยและมาเลเซียต่างสะท้อนภาพคล้ายกัน โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐสะท้อนภาพว่าเป็น “กบฏต่อแผ่นดิน” หรือ “โจรใต้” ส่วนหนังสือพิมพ์มาเลเซียสะท้อนว่า “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” หรือ “กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง”

ที่มา : สุธางศุ์รัตน์ สุบรรณรักษ์, “ความแตกต่างในการนำเสนอข่าวความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างหนังสือพิมพ์ไทยและหนังสือพิมพ์มาเลเซีย กรณีศึกษา เหตุการณ์ความไม่สงบ หน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส,” (สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549), น. 61 – 63.

บทคัดย่อ (Abstract) : การนำเสนอข่าวต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กรณีศึกษาเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ณ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

        วันวิสาข์ พันธุวดีธร (2548) ศึกษาเรื่อง “การนำเสนอข่าวต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กรณีศึกษาเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ณ อำเภอตากใบ จ.นราธิวาส“ โดยพบว่า หนังสือพิมพ์เดลินิวส์เป็นหนังสือพิมพ์ที่ให้ความสำคัญ และเกาะติดสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการรายงานข่าวเป็นประจำ และมักจัดให้อยู่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เสมอ นอกจากข่าวแล้วหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ยังได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวในรูปของบทบรรณาธิการ บทความ และรายงานพิเศษต่างๆอีกด้วย แต่ทว่า แหล่งข่าวของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์มักจะเป็นแหล่งข่าวที่มาจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการเป็นส่วนมาก ซึ่งถึงแม้จะเป็นแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ แต่ก็จัดว่าเป็นข้อมูลเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ครอบคลุมข้อเท็จจริงทั้งหมดเสมอไป และยิ่งกว่านั้นอาจมีคำสั่งจากเบื้องบนให้ปกปิดข้อมูล หรือให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็ได้

ที่มา : วันวิสาข์ พันธุวดีธร, “การนำเสนอข่าวต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กรณีศึกษาเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ ณ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส,” (สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), น. 41 – 42

บทคัดย่อ (Abstract) : ทัศนะของชาวมุสลิมที่มีต่อการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน กรณีศึกษา สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

     วนัสนันทร์ มะยูนุ (2549)  ศึกษาเรื่อง “ทัศนะของชาวมุสลิมที่มีต่อการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน กรณีศึกษา สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกชาวไทยมุสลิมจำนวน 21คน พบว่า ชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทัศนะเกี่ยวกับเนื้อหาข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในทางลบมากกว่าทางบวก นั่นคือ เน้นแต่การนำเสนอความรุนแรง ความโหดเหี้ยม ความสูญเสีย ความต้อยต่ำ ความล้าหลัง และความงมงายในศาสนา และมีทศนะเกี่ยวกับภาพข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เน้นการนำเสนอภาพข่าวความรุนแรงของเหตุการณ์ เช่น ภาพคนตาย –บาดเจ็บ ภาพการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ภาพการทำลายล้างของระเบิด และภาพข่าวที่เน้นความต้อยต่ำ ความล้าหลัง วิถีชีวิตและความเชื่อที่แตกต่างจากชนกลุ่มอื่น และยังพบว่าสื่อมวลชนมักไม่นำเสนอประเด็นข่าวที่เปิดโอกาสให้ชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แสดงออกซึ่งทัศนะที่มีต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าวอีกด้วย

ที่มา : วนัสนันทร์ มะยูนุ, “ทัศนะของชาวมุสลิมที่มีต่อการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน กรณีศึกษา สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549), น. บทคัดย่อ.

บทคัดย่อ (Abstract) : พฤติกรรมการเปิดรับ ความรู้และทัศนคติ ของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อการเสนอข่าวความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสื่อมวลชน

       พิมพิดา โยธาสมุทร (2549) ศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับ ความรู้ และทัศนคติ ของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อการเสนอข่าวความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ของสื่อมวลชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ภายหลังจากที่ผู้รับสารทั้งสองกลุ่มนั่นคือชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เปิดรับข่าวสารประเด็นดังกล่าวจากสื่อมวลชนแล้ว ข่าวสารนั้นจะส่งผลต่อพฤติกรรม ความรู้ ความคิดเห็นและทัศนคติต่อผู้รับสารอย่างไรบ้าง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าภายหลังจากได้รับข่าวสารจากสื่อมวลชนแล้ว ผู้รับสารทั้งสองกลุ่มต่างมีพฤติกรรมต่อคนในสังคมตามมา โดยที่ชาวไทยพุทธส่วนใหญ่ได้รับความรู้ข่าวสารเกี่ยวกับความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้จากสื่อมวลชนเป็นที่แรกและเป็นที่เดียว ผนวกกับประสบการณ์ที่แตกต่างกันของบุคคลจึงทำให้เกิดทัศนคติ  2 แบบ คือทัศนคติด้านบวกซึ่งจะส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรมเข้าใจ เห็นใจ และทัศนคติด้านลบจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่อต้าน เหยียบหยาม และไม่ไว้ใจ ส่วนชาวไทยมุสลิมก็ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้จากสื่อมวลชนเป็นส่วนหลัก แต่ความรู้เกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมของชาวมุสลิมนั้นได้มาจากประสบการณ์วัยเด็กและสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ส่วนทัศนคติของกลุ่มนี้มักเป็นทัศนคติเชิงบวกในแง่การสงสารเห็นใจ แต่พบว่าในส่วนของพฤติกรรมที่ได้รับจากคนในสังคมนั้น คนกลุ่มนี้ได้รับพฤติกรรมในด้านร้ายหลายระดับ เช่น การแสดงออกทางสายตา ท่าทาง น้ำเสียง ลักษณะการพูดจา การจงใจใช้คำพรุศวาส และการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่าสื่อมวลชนเพียงการนำเสนอข้อเท็จจริง โดยลืมที่จะเสนอเรื่องราวที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ อีกทั้งยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเรื่องศาสนา อัตลักษณ์ และชาติพันธุ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกันของคนในสังคมได้

ที่มา : พิมพิดา โยธาสมุทร,“พฤติกรรมการเปิดรับ ความรู้และทัศนคติ ของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อการเสนอข่าวความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสื่อมวลชน ,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549), น. บทคัดย่อ.

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาดูโอชินย้อนหลังกันเถอะ ตอนที่ 21 - 45

ต่อไปนี้จะเป็นคลิปโอชินตอนที่ 21 - 45 นะคะ ^_^

ตอน21 ... 8 ก.ค. 53 http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/07/A9451290/A9451290.html
ตอน22 ... 9 ก.ค. 53 http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/07/A9454790/A9454790.html

ตอน23,24...12,13ก.ค.53 http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/07/A9468470/A9468470.html
ตอน25 ... 14 ก.ค. 53 http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/07/A9472443/A9472443.html
ตอน26 ... 15 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9476182/A9476182.html
ตอน27 ... 16 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9479682/A9479682.html
ตอน28 ... 19 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9489019/A9489019.html
ตอน29 ... 20 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9493216/A9493216.html
ตอน30 ... 21 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9496614/A9496614.html
ตอน31 ... 22 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9501028/A9501028.html
ตอน32 ... 23 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9504579/A9504579.html
ตอน33 ... 26 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9512909/A9512909.html
ตอน34 ... 27 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9516441/A9516441.html
ตอน35 ... 28 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9520357/A9520357.html
ตอน36 ... 29 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9523637/A9523637.html
ตอน37 ... 30 ก.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9527705/A9527705.html
ตอน38 ... 2 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9537978/A9537978.html
ตอน39 ... 3 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9541721/A9541721.html
ตอน40 ... 4 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9545626/A9545626.html
ตอน41 ... 5 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9549336/A9549336.html
ตอน42 ... 6 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9553126/A9553126.html
ตอน43 ... 9 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9562716/A9562716.html
ตอน44 ... 10 ส.ค. 53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9566679/A9566679.html
ตอน45 .....13 ส.ค.53 http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9576703/A9576703.html

ที่มา : คุณ Edna Mode (พันทิป ห้องเฉลิมไทย)

มาดูโอชินย้อนหลังกันเถอะ ตอนที่ 1 - 20

ยอมรับว่าตอนนี้ติดโอชินงอมแงม เสียดายช่อง3 ฉายแค่วันละครึ่งชั่วโมง หนำซ้ำบางวันยังโดนงด
ออกอากาศอีก T_T เซ็งเลย...รู้สึกว่าเรื่องโอชินจะฉายมา 2 รอบแล้ว รอบแรกทางช่อง 5
รอบสองก็ช่อง 3 นี่แล่ะ แต่เรายังไม่เคยดูทั้ง 2 รอบ เลยสนใจดูเป็นพิเศษ
เพราะรู้สึกว่าถึงเรื่องนี้จะสร้างมายาวนาน 20-30 ปีแล้ว แต่เนื้อหายังร่วมสมัยอยู่มาก อยากให้คนยุคใหม่
ในโลกยุคไอทีได้ดูกันเยอะๆ เผื่อจะได้นำข้อคิดดีๆ ไม่ว่าจะเป็นความอดทน ความขยัน ความมีน้ำใจ
 ความมัธยัธส์ ฯลฯ มาใช้ในการดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสวัตถุนิยมเฉกเช่นปัจจุบันได้บ้าง
เข้าเรื่องเลยดีกว่า.....พอดีวันก่อนเข้าไปอ่านกระทู้ในพันทิป (ห้องเฉลิมไทย) 
เห็นคุณ Edna Mode ได้นำ Youtube ของโอชินในแต่ละวันมาแบ่งบันให้คนที่พลาดชมได้ดูย้อนหลังกัน เลยขออนุญาตนำมาแปะไว้ในบล็อกนี้ด้วยนะคะ เผื่อใครที่อยากดูย้อนหลังจะได้เข้ามาดูได้ค่ะ ^_^ 

บทคัดย่อ (Abstract) : กลยุทธ์และประสิทธิภาพการสื่อสารการตลาดขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวออสเตรเลียในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2543

      ศุภวงศ์ โหมวานิช (2543) ได้ศึกษาเรื่องกลยุทธ์และประสิทธิภาพการสื่อสารการตลาดขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวออสเตรเลียในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2543 โดยผลการศึกษาพบว่า องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวออสเตรเลียใช้แนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ โดยกำหนดให้ประเทศออสเตรเลียใช้แนวทางการสื่อสารแบบบูรณาการ โดยกำหนดให้ประเทศออสเตรเลียเป็นสินค้า มีตราสินค้าว่า ตราออสเตรเลีย (Brand Australia) มีพันธกิจหลักในการนำประเทศออสเตรเลียออกสู่ตลาดนานาชาติ เพื่อให้เป็นจุดหมายที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศเลือกเดินทางไป เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวออสเตรเลีย มีแนวทางในการปฏิบัติงานโดยการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แสดงความเป็นผู้นำ ความเป็นมืออาชีพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นเลิศในทุกด้าน รวมทั้งการมอบประสบการณ์ที่มีคุณภาพแก่นักท่องเที่ยวและ อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ วัฒนธรรมและสังคมอันเป็นเอกลักษณ์ของออสเตรเลีย องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวออสเตรเลียใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาด โดยแบ่งกิจกรรมการสื่อสารเป็นสองส่วน คือกิจกรรมที่ทำกับกลุ่มผู้บริโภคโดยผ่านสื่อมวลชน ได้แก่ การโฆษณา การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ การจัดสื่อมวลชนสัญจรและการจัดกิจกรรมพิเศษ  

บทคัดย่อ (Abstract) : เจตคติ และความประทับใจของชาวต่างประเทศที่ได้มาเยี่ยมประเทศไทย

     บุษบา สุธีธร และ ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร (2541) ได้ทำรายการวิจัยเรื่องเจตคติ และความประทับใจของชาวต่างประเทศที่ได้มาเยี่ยมประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย รู้จักประเทศไทยจากสื่อบุคคล ได้แก้ ญาติ พี่น้อง เพื่อน เป็นต้น รองลงมาคือ คู่มือนำเที่ยว และในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวจะติดตาม ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจากสื่อประเภทแผ่นพับ จดหมายข่าวที่มีแจกตามสถานที่ต่างๆ รวมทั้งการพูดคุยกับนักท่องเที่ยวด้วยกันหรือรับคำแนะนำจากบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว แรงจูงใจสำคัญก่อนการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยคือ การทราบว่ามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวอยู่มีความประทับใจมากในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาหารไทย การจับจ่ายซื้อของ ที่พัก ค่าใช้จ่ายระหว่างพำนักในประเทศ วัฒนธรรม ประเพณีไทย แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก เครื่องอำนวยความสะดวกและบริการนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรให้ความสำคัญกับความต้องการที่แท้จริง ของนักท่องเที่ยวกลุ่มสตรี และผู้สูงอายุให้มากขึ้นเนื่องจากอัตราการเพิ่มของภูมิภาค โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีลักษณะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนอกจากนั้น ในแง่สื่อที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทยนอกจากสื่อมวลชนแล้วนักท่องเที่ยวนิยมใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ดังนั้น ควรใช้ประโยชน์จากสื่อนี้ให้มากขึ้น ประกอบกับสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในต่างประเทศควรทำหน้าที่การตลาดแบบครบวงจรให้ได้ในกลุ่มประเทศที่ตั้งสำนักงาน

ที่มา : บุษบา สุธีธร และ ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร, "เจตคติและความประทับใจของชาวต่างประเทศที่ได้มาเยี่ยมประเทศไทย," (รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ, 2541). น. บทคัดย่อ.

บทคัดย่อ (Abstract) : การกำหนดนโยบายและแผนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว: ลักษณะเฉพาะกรณีพฤติกรรมกรรมการรับข่าวสารของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

     วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์ (2533) ได้ทำวิจัยเรื่องการกำหนดนโยบายและแผนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ศึกษาเฉพาะกรณีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี 2532 พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น เปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์เป็นส่วนมาก รองลงมาได้แก่ วิทยุ และ โทรทัศน์ และนิตยสาร ตามลำดับ ลักษณะการได้รับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด พระนครศรีอยุทธยา ส่วนใหญ่แล้วได้รับก่อนเดินทาง โดยได้รับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งภายนอกและภายในประเทศไทย และยังพบว่าแหล่งข้อมูลหรือสื่อนอกประเทศไทยที่เป็นสื่อระหว่างบุคคลที่เป็นทางการส่วนมากแล้วเป็นบริษัทนำเที่ยว รองลงมาคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ ส่วนมากนักท่องเที่ยวได้รับจากหนังสือนำเที่ยว รองลงมาคือ จุลสาร (Brochures) และสื่อมวลชนก็เช่นเดียวกันคือ ส่วนมากเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รองลงมาเป็นโทรทัศน์


ที่มา :  วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์, "การกำหนดนโยบายและแผนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว: ลักษณะเฉพาะกรณีพฤติกรรมกรรมการรับข่าวสารของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา," (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรศาสตร์,2533),น.บทคัดย่อ.

บทคัดย่อ (Abstract) : ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกชมภาพยนตร์ไทย

     สิรฎา เกตุเอี่ยม (2545) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกชมภาพยนตร์ไทย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อพฤติกรรมการเลือกชมภาพยนตร์ไทยได้แก่ ปัจจัยด้านองค์ประกอบภาพยนตร์และปัจจัยด้านการโฆษณา ปัจจัยด้านองค์ประกอบภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ความแปลกใหม่ของภาพยนตร์ ปัจจัยด้านการโฆษณา ได้แก่ ตัวอย่างภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ปัจจัยด้านประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ตัวอย่างภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ได้แก่ การแจกของแถมเมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ ปัจจัยด้านกิจกรรมการสื่อสารการตลาด ได้แก่ ภาพจากภาพยนตร์ที่ปรากฎบนสินค้าอื่นๆ ส่วนปัจจัยบุคคล ได้แก่ คำแนะนำของเพื่อน กลุ่มตัวอย่างส่วนมากชมภาพยนตร์ไทย เฉลี่ย 3-4 เรื่องต่อปี เหตุผลเพื่อความบันเทิง และมักไปชมในช่วงสัปดาห์แรก และพบว่าลักษณะทางประชากร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับอิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารการตลาดมีความสัมพันธ์กับจำนวนภาพยนตร์ไทยที่ชมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นเดียวกัน

ที่มา : สิรฎา เกตุเอี่ยม.(2545).ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกชม ภาพยนตร์ไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บทคัดย่อ (Abstract) : กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดภาพยนตร์อเมริกันของบริษัท ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย

     จุฑาภา ยศสุนทรากุล (2543)ได้ศึกษาเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดภาพยนตร์อเมริกันของบริษัทผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พบว่า การวางแผนการสื่อสารการตลาดภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องทาร์ซาน เริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดโปรแกรมการฉายในช่วงเวลาที่เหมาะสม การค้นหาจุดขายภาพยนตร์ การเตรียมการในการสื่อสารการตลาด การคัดเลือกสื่อและวิธีการในการเผยแพร่ การกำหนดงบประมาณที่เหมาะสม และการสื่อสารตลาดต้องเป็นไปตามระยะเวลาของตัวภาพยนตร์ การสื่อสารการตลาดให้ประสบความ สำเร็จนั้นจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อ ซึ่งบริษัท บัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีความสัมพันธ์กับสื่อแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการในการเป็นผู้ให้ข้อมูลของรางวัลแก่สื่อ และควบคุมทิศทางในการเผยแพร่ของสื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนการศึกษารูปแบบ วิธีการ เนื้อหาของตัวสื่อพบว่า การสื่อสารการตลาดภาพยนตร์การ์ตูน เรื่องทาร์ซานมีการใช้สื่อในการเผยแพร่ 2 ประเภท คือ หนึ่ง การใช้สื่อมวลชน ได้แก่ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ และสองการไม่ใช้สื่อมวลชน ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์เป็นสื่อ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายบริเวณโรงภาพยนตร์ การให้สัมปทาน ฯลฯ สรุปผลจากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ความสำเร็จทางด้านรายได้ของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องทาร์ซาน มาจากการวางแผนการสื่อสารการตลาดที่ดี และได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่ออย่างกว้างขวาง รวมถึง ตัวภาพยนตร์ และความมีชื่อเสียงของดิสนีย์ด้วย

ที่มา: จุฑาภา ยศสุนทรากุล.(2543).กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดภาพยนตร์อเมริกันของบริษัท ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

บทคัดย่อ (Abstract) : พัฒนาการของกระแสนิยมภาพยนตร์ เรื่องบางระจันและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดกระแสนิยมในสังคม

      ทรงพล วงษ์คนดี (2543) ได้ทำการศึกษาเรื่องพัฒนาการของกระแสนิยมภาพยนตร์ เรื่องบางระจันและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดกระแสนิยมในสังคม พบว่า กระแสนิยมภาพยนตร์เรื่องบางระจัน ถูกจุดขึ้นโดยฝ่าย การตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของฟิล์มบางกอก ซึ่งได้วางแผนในการประสาน ความร่วมมือกับพันธมิตร ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ องค์กรธุรกิจ สื่อมวลชนและองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวน การทำประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องบางระจัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดกระแสนิยมภาพยนตร์เรื่องบางระจันประกอบด้วย ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกภาพยนตร์ ปัจจัยภายในประกอบด้วย ปัจจัยหลัก ได้แก่ การนำเสนอภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ และปัจจัยเสริมได้แก่ เนื้อหาที่เป็นที่ รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ส่วนปัจจัยภายนอก ประกอบด้วยปัจจัยหลัก ได้แก่ การวางแผนการตลาดและกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ส่วนปัจจัยเสริม ได้แก่ สื่อมวลชน และบริบททางสังคม

ที่มา : ทรงพล วงษ์คนดี.(2543).พัฒนาการของกระแสนิยมภาพยนตร์ เรื่องบางระจันและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดกระแสนิยมในสังคม.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บทคัดย่อ (Abstract) : สภาพการณ์ของภาพยนตร์ไทยในอนาคต : ศึกษาวิเคราะห์จาก ทีมงานสร้าง ผู้ชม และนักวิชาการด้านภาพยนตร์

     รัตนา จักกะพาก (2546) ได้ศึกษาเรื่องสภาพการณ์ของภาพยนตร์ไทยในอนาคต : ศึกษาวิเคราะห์จากทีมงานผู้สร้าง ผู้ชม และนักวิชาการด้านภาพยนตร์ พบว่า
     (1) สภาพการณ์ของภาพยนตร์ไทยในปัจจุบันโดยรวมมีการพัฒนาขึ้นกว่าในอดีต ทางด้านเทคนิคการผลิตเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ส่วนทางด้านเนื้อหาของภาพยนตร์ไทยยังคงวนเวียนเป็นแบบเดิมๆ โดยมีการนำเสนอในรูปแบบใหม่บ้างแต่ยังไม่มากนัก ภาพยนตร์ไทยมีการแข่งขันในประเทศมากขึ้นในลักษณะการเร่งผลิต เร่งขาย โดยเพิ่มจำนวนภาพยนตร์ไทยอย่างมาก แต่คุณภาพด้านเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอยังคงเป็นแบบเดิมๆ ผู้ชมให้ความสนใจไปดูภาพยนตร์ไทยมากขึ้น ตื่นตัวที่จะติดตามภาพยนตร์ไทยมากขึ้น แนวโน้มในอนาคตของภาพยนตร์ไทยจะอยู่ในลักษณะขยายปริมาณแต่คุณภาพยังคงค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้เพราะขาดแนวทางในการพัฒนาที่มีทิศทางและนโยบายชัดเจน
     (2) ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการณ์ของภาพยนตร์มีดังนี้

บทคัดย่อ (Abstract) : ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเพื่อการส่งออก

      รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม (2542) ได้ศึกษาเรื่องปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยประเภทบันเทิงเพื่อการส่งออก กรณีศึกษา : ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ พบว่า
     (1) ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ คิดว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรม เพราะมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร คือ มีการลงทุน การจ้างงาน มีตัวสินค้า มีการส่งเสริมการขาย และมีผู้บริโภค ด้านปัญหาและอุปสรรคของทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเพื่อการส่งออกนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณการผลิตไม่เพียงพอ บทภาพยนตร์ยังไม่มีคุณภาพที่ดีพอ รัฐไม่ให้ความร่วมมือในการถ่ายทำ การตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทำให้มีข้อจำกัดมาก ส่วนด้านอุปสรรคในการส่งเสริม ได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ระบบการเก็บภาษีต่างๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป และมาตรการการกีดกันการค้าของต่างประเทศทำให้ภาพยนตร์ไทยส่งออกได้ยาก รวมทั้งการรวมกลุ่มของผู้ทำงานด้านภาพยนตร์ไทยยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ ส่วนความพร้อมของผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์นั้น ส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องเงินทุนในการสร้าง ประกอบกับควรมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์พร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆเพื่อแก้ปัญหาด้านบุคลากรในทุกๆด้าน
     (2) ความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลนั้น ต้องการให้รัฐบาลมีการดำเนินการด้านการตลาดให้กับภาพยนตร์ไทย ยกเว้นภาษีหรือลดภาษีเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์นำเข้า ยกเลิกหรือแก้กฎหมายให้ยืดหยุ่นมากกว่าเดิมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยอย่างจริงจัง และให้หน่วยงานต่างๆของรัฐให้การสนับสนุนในต่างประเทศ รวมทั้งมีการศึกษาแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่างประเทศเพื่อนำมาเป็นแนวทางสำหรับประเทศไทย ส่วนแนวทางของการส่งเสริมนั้น จะต้องผลิตภาพยนตร์ไทยให้เป็นสากล มีมาตรฐานและคุณภาพเพียงพอจะส่งไปขายได้ รัฐเป็นผู้หาตลาดให้โดยมีหน่วยงานหรือตัวแทนที่มีความ สามารถ ความชำนาญเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ ยกเลิกระบบการตรวจพิจารณาภาพยนตร์หรือปรับปรุงให้ทันสมัยเท่าเทียมกับต่างประเทศ การจัดจำหน่ายควรใช้บริษัทของต่างประเทศเพราะมีความรู้ด้านการตลาดดีกว่าของไทย มีการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง มีการศึกษาถึงวิธีการสร้างภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ และการดำเนินการด้านการตลาดของต่างประเทศ

ที่มา : รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม.ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ไทยเพื่อ การส่งออก.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บทคัดย่อ (Abstract) : ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

         รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม (2548) ได้ศึกษาเรื่องทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย พบว่า การวางแผนการตลาดสำหรับภาพยนตร์ไทยเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายคนดู ขนาด ประเภท จุดขายของภาพยนตร์ และฉายในระยะเวลาที่เหมาะสม การวางแผนสื่อที่ดีมีผลต่อการตัดสินใจในการ จูงใจให้ไปชมภาพยนตร์ไทย สื่อป้ายโฆษณาบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ กระแสปากต่อปาก การวิจารณ์ภาพยนตร์ในแง่บวก ผู้กำกับ ดาราภาพยนตร์ และการจัดอันดับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูง ล้วนส่งผลต่อการชักจูงคนมาชมภาพยนตร์ นอกจากนี้ควรมีการใช้สื่อเฉพาะให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดต้นทุนการซื้อสื่อที่ไม่เป็นประโยชน์และการไร้ประเมินผลการใช้สื่ออย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต สำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ได้แก่กลุ่มวัยรุ่น การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เพศหญิงชอบภาพยนตร์ผี และตลก ขณะที่เพศชายชอบภาพยนตร์แอ็คชั่นมากกว่า ส่วนภาพยนตร์ชีวิตทั้งเพศชายและเพศหญิงชื่นชอบเหมือนกัน ต่างต้องการชมภาพยนตร์ไทยเพื่อความสนุกบันเทิงมาก กว่าเหตุผลด้านเนื้อหา ส่วนผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่มักไม่ค่อยนิยมชมภาพยนตร์ไทย แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากสร้างภาพยนตร์ไทยที่มีคุณภาพ ตลาดในประเทศจะตอบรับมากขึ้นและได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศด้วย สิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนอย่างจริงจังคือนโยบายส่งเสริมภาพยนตร์ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่สินค้าทางเศรษฐกิจ และควรสร้างความเข้มแข็งในภาคของคนดูให้เป็นผู้แสวงเสพ ไม่ใช่ผู้รอเสพ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาขั้นสูงด้านการเขียนบทภาพยนตร์เพื่อภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ

ที่มา : รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม.(2548).ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย.: รายงานผล
การวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตรียมพร้อมสำหรับการสอบใบขับขี่

หลังจากที่ฝึกฝนการขับรถกันมาได้ซักระยะ ก็ถึงเวลาที่ต้องไปสอบใบขับขี่กันเสียทีใช่ไม๊คะ
เอ...แต่จะต้องเตรียมตัวยังไงบ้างล่ะ =_=" เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังเองค่ะ
หากคุณต้องการขอใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว เอกสารที่จะต้องเตรียมมีดังนี้ค่ะ
(1) บัตรประชาชนตัวจริง + สำเนาบัตรประชาชน แต่ถ้าเป็นชาวต่างชาติต้องเตรียม PASSPORT หรือเอกสารที่ใช้แทน + สำเนาหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือ ใบอนุญาตทำงาน (WORK PERMIT) ค่ะ
(2) ใบรับรองแพทย์ (ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกินกว่า 1 เดือน)
(3) กรณีขอรับใบขับขี่แบบธรรมดา ให้นำรูปถ่าย 1 นิ้ว ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน 2 ใบมาด้วย แต่ถ้าอยากได้ใบขับขี่แบบ Smart card ไม่ต้องนำรูปถ่ายมา แต่ต้องเสียตังค์เพิ่มจากค่าธรรมเนียมปกติอีก 100 นึงค่ะ
** บัตร Smart card สามารถ ใช้ได้ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ คือ จีน บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ติมอร์ตะวันออก พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เสถียรธรรมสถานกับธรรมชาติบำบัด

ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับคุณยายจ๋า หรือ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต และ เสถียรธรรมสถาน มานานนับ 10 ปี
 แต่ไม่เคยไปที่นั่นซักกะที ทั้งๆที่อยู่แถวๆรามอินทรานี่เอง แต่อยู่ๆ เมื่อซักประมาณต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เกิดสนใจในแนวทางธรรมชาติบำบัดขึ้นมา (อะไรดลใจก็ม่ายยรู้) ก็เลย Search หาข้อมูลไปเรื่อยๆ พอดีไปป๊ะเข้าให้กับคอร์สธรรมชาติบำบัด เพื่อชีวีตเป็นสุข ของเสถียรธรรมสถาน
ที่จะจัดในช่วงปลายเดือนธันวาเข้าให้ (อะไรจะพอดีขนาดน้าน) 

ไปโพธิปักขิยธรรมสถานกันดีกว่า

3 ปีมาแล้วที่ช่วงหยุดยาวสงกรานต์จะไปปฏิบัติธรรมที่สถานปฏิบัติธรรม วิปัสนากรรมฐาน
ซึ่งมีชื่อว่า "โพธิปักขิยธรรมสถาน มูลนิธิวิปัสสนามิตรภาพ" จ. สระบุรี เดินทางจากกรุงเทพฯ
ชั่วโมงเดียวก็ถึง (ถ้ารถไม่ติดนะจ๊ะ)

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สถานปฏิบัติธรรม...ไม่ไปไม่รู้

นางสาว ก : หยุดยาวปีใหม่ จะไปลัลล้าที่ไหนยะหล่อน
นางสาว ข : ไปปฏิบัติธรรมอ่ะ ว่าจะไปฝึกสติ สมาธิ สงบจิตสงบใจซะหน่อย
นางสาว ก : เห้ย บ้าป่าว เครียดเรื่องไรฟะ อกหัก รักคุด ตกงาน หรือไง ถึงไปปฏิบัติธรรม
นางสาว ข : แกสิบ้า คนรุ่นใหม่ เด๋วนี้เค้าไปปฏิบัติธรรมกันแล้วเว๊ย ไม่มีทุกข์อะไรก็ไปได้ ดีจะตาย
นางสาว ก : จิงเดะ (ลังเลๆ) แต่ชั้นมันพวกบัวใต้น้ำนะ ฝึกได้เร้ออออ
นางสาว ข : อย่าไปคิดอย่างง้าน ใครๆก็ฝึกได้ถ้าตั้งใจอ่ะ ลองไปด้วยกันมะ เด๋วนี้ธรรมะไม่ใช่เรื่องยากแล้ว
นางสาว ก : เออลองดูก็ได้วะ เผื่อชั้นจะโผล่พ้นน้ำขึ้นมามั่ง 5 5 5 ว่าแต่แกจะไปปฏิบัติธรรมที่ไหนอ่ะ
นางสาว ข : แกนี่นะ =_=' เนี่ยกะลังหารายชื่อสถานปฏิบัติธรรมจาก ธรรมะไทย อยู่อ่ะแก
นางสาว ก : อืมๆๆ ได้ที่แล้วบอกด้วยนะ เผื่อชั้นจะชวนเพื่อนคนอื่นๆมาร่วมปฏิบัติการบุญกะเราด้วย
นางสาว ข : ดีมาก แล้วแกจะรู้ว่าความสุขที่แท้จริง ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมายไปแลกมา
นางสาว ก : สาาาาาาาธุ
นางสาว ข : ล้อเลียนเหรอ เดี๋ยวเถอะ ดูนี่สิมีรายชื่อสถานปฏิปัติธรรมทุกภาคเลยแก
v
v
v

"บ้านอารีย์" ห้องสมุดธรรมะที่น่าลอง

รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เห็นคนรุ่นใหม่หันหน้าเข้าหาธรรมะกันมากขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับธรรมะ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากที่ไหนดี วันนี้จะขอแนะนำห้องสมุดธรรมะย่านซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพหลโยธิน ที่มีชื่อว่า บ้านอารีย์ ถือว่าอยู่ย่านใจกลางเมืองเลยทีเดียว เดินทางไปมาก็สะดวก ถ้ามาจาก BTS ก็มาลงสถานีอารีย์ ซอยที่เข้าไปสู่บ้านอารีย์อยู่ติดกับ exim bank ด้านหน้ามีร้านอาหารมังสวิรัตขายอยู่ เดินเข้าไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกทางไปสู่ห้องสมุด...หาไม่ยากค่ะ เดินไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็เจอเอง (อ้าว..ซะงั้น) 

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Serviced apartment คืออะไร

เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์  (Serviced apartment) คืออะไร ใครรู้บ้าง... เอ๊ะเป็นแบบเดียวกับโรงแรมรึเปล่า หรือจะคือ คือกับอพาร์ทเมนต์ที่พบเห็นกันทั่วไป กล่าวโดยสรุปก็คือ เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ นับเป็นอพาร์ทเมนท์ให้เช่า (For rent) ประเภทหนึ่งซึ่งมีหลายระดับราคาให้เลือก (แต่โดยรวมๆแล้วก็คงแพงกว่าอพาร์ทเมนท์ทั่วไปอยู่ดี) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายหลักๆที่เข้ามาใช้บริการจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่าชาวบ้านร้านตลาดชาวไทย โดยจุดสำคัญที่ทำให้แตกต่างจากอพาร์ทเมนท์ทั่วไปก็คือ การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานเดียวกับโรงแรม เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ โต๊ะเครื่องแป้ง ลิฟท์ แอร์ มินิบาร์ ห้องครัวที่มีอุปกรณ์ครบครัน ทีวี LCD พร้อมเคเบิลทีวี รูมเซอร์วิส ซักอบรีด ที่จอดรถ ฟิตเนส สปา ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วมักจะตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ไม่ว่าจะเป็นสุขุมวิท สีลม หรือสาทร เป็นต้น
แต่ในอนาคตข้างหน้า (คาดว่า) จะกระจายไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ (มาแนวเดียวกับคอนโดเล้ยยยยยย ^_^)


เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ ระดับ 4-5 ดาว ย่านสาทร
(ภาพจาก http://www.yellowribbon.co.th/)

Google Adwords คืออะไร

Google Adwords  เป็นการให้บริการด้านโฆษณาของ Google (อารมณ์ประมาณว่าเป็นสปอนเซอร์ของ
Google นั่นเอง โดยสปอนเซอร์จะได้รับพื้นที่โฆษณาอยู่ด้านบนสุดหรือด้านขวามือในหน้าแรกของ Google) เจ้าของสินค้าหรือบริการผู้ใดสนใจเป็นสปอนเซอร์ Search Engine ยักษ์ใหญ่ (ฮา) จะต้องเลือกคำค้นหรือคีย์เวิร์ด (Key word) ที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาของตน
โดยจะเสียค่าโฆษณาให้กับ Google ทุกครั้งที่มีคนเข้ามาคลิกโฆษณาของเจ้าของสินค้าหรือบริการ
อ้อ อ้อ อ้อ !! ส่งท้ายนิดนึงจากที่ได้อ่านมาหลายๆข้อมูลด้วยความอยากรู้อยากเห็น (อิอิ) พบว่า ทีเด็ดของการทำ Google Adwords ให้สำเร็จอยู่ที่การเลือก Key word ให้ถูกที่ ถูกทาง นั่นเอง
พูดง่าย แต่ทำยากนะจะบอกให้ ^_^


รูปแบบของ Google Adwords

(ภาพจาก Google)

Google Adsense คืออะไร


 Google Adsense ก็คือ การให้บริการรูปแบบหนึ่งของ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google โดยเปิดโอกาสให้บรรดาผู้ที่มีเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ ได้หารายได้พิเศษ (ฮา) โดย
ผู้สมัครใช้บริการจะต้องนำ Code ที่ได้รับหลังจากสมัครมาแปะไว้ที่เว็บไซต์หรือบล็อกของตนเอง ซึ่ง Code ดังกล่าวจะเป็นโฆษณาที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์หรือบล็อกของผู้สมัคร โดยโฆษณาเหล่านั้นจะส่งมาจากการทำ Google Adwords  นั่นเอง (ไว้จะพูดถึงทีหลังเน้อ) ทั้งนี้รายได้จาก Google Adsense จะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ การจ่ายเมื่อมีคนเข้าไปคลิกโฆษณาที่ส่งมาจาก Google (Pay Per Click) และการจ่ายเมื่อแสดงโฆษณา (Pay Per Impression) โดย Google จะจ่ายให้ผู้สมัครเมื่อมีเจ้าของสินค้าหรือบริการซึ่งเป็นผู้ลงโฆษณาเสนอราคาเพื่อให้โฆษณาของตนได้ปรากฏบนเว็บไซต์หรือบล็อกของผู้สมัคร (ประมาณว่าชื่นชอบ อยากลงโฆษณากะเว็ปไซต์หรือบล็อกนี้สุดๆ 555) ซึ่งเจ้าของสินค้าหรือบริการจะพิจารณาจากต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้ง (CPM) โดยไม่สนใจจำนวนคลิก


รูปแบบของ Google Adsense
(ภาพจาก Google)

ภาษาอังกฤษ..ภาษาที่สองหรือหนึ่ง

ที่ตั้งชื่อเรื่องไว้แบบนั้น ก็เพราะเห็นว่าคนยุคนี้ให้ความสนใจกับภาษาอังกฤษกันมากถึงมากที่สุด ดูจากสถาบันสอนภาษาอังกฤษทั้งของคนดังหรือประเภทที่ก่อตั้งและมีชื่อเสียงมายาวนาน ยกตัวอย่างเช่น
 คริสโตเฟอร์ ไรท์, Andrew Biggs, ครูเคท, ครูสมศรี, Home of English, Recovery, Wallstreet, Enconcept ฯลฯ ต่างก็มีนักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน มาเรียนกันแน่นขนัด
(นี่ถ้าสนใจเรียนภาษาไทยกันได้ขนาดนี้บ้าง คงจะดีเนอะ... หุหุ) 
 โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าการให้ความสนใจภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องที่ดีเพราะโลกทุกวันนี้มัน
ไร้พรมแดนกันแล้ว มันเป็นความจำเป็นที่เราต้องสื่อสารกับคนต่างบ้านต่างเมือง (ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งตัวเองก็ไม่เว้น อายุปูนนี้แล้วยังต้องไปเรียนภาษาอังกฤษกะคุณครูแหม่มชาวอังกฤษเพิ่มเติมอยู่เลย อันเนื่องมาจากกลัวเจอฝรั่งแล้วใบ้รับประทานอ่ะนะ ...ไม่มีไรหรอก (อิอิ)
แต่ที่ไม่ค่อยสนับสนุนก็คือการพูดไทยคำอังกฤษคำ หรือ ไทย 1 คำ อังกฤษ 10 คำ
(นี่ถ้า speak กันเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆได้คงทำไปแล้ว..ก็มันเท่ มันเก๋ มันเริ่ดนี่ยะ ชิมิ ชิมิ =_=')
เราว่าเอาแต่พอดีๆ มันจะดูน่ารักกว่ากันเยอะเลยนาาาา...ขอบอก ^_^

สอนขับรถจบปุ๊บ สอบใบขับขี่ได้ปั๊บ


ปัจจุบันมีโรงเรียนสอนขับรถยนต์เกิดขึ้นมากมาย เป็นไปได้ไม๊ว่าเพราะความต้องการใช้รถของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อย่างว่าก็ระบบขนส่งมันไม่ work นี่นา....เฮ้อ) อีกอย่างการจะมาสอนขับกันเองเหมือนเมื่อก่อน อาจทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนแบบผิดๆ เผลอๆ ทะเลาะกับคนสอนอีกตังหาก..ดังนั้นความนิยมของโรงเรียนสอนขับรถยนต์จึงเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้น (ฮา) ....โรงเรียนส่วนใหญ่ที่เคยเห็นผ่านหูผ่านตา มักจะมีคำโปรยเพื่อโฆษณาว่า "พร้อมพาไปทำใบขับขี่" ซึ่งก็คือเมื่อเรียนจบแล้วทางโรงเรียนจะพานักเรียนไปสอบที่ขนส่งเขตพื้นที่ต่างๆ ....แต่เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าเดี๋ยวนี้เค้ามีโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่พอนักเรียนเรียนจบปุ๊บ ก็สามารถสอบใบขับขี่ที่โรงเรียนได้เลย
ถ้าสอบผ่านก็นำผลไปรับใบขับขี่ที่กรมการขนส่งทางบกได้ทันที
 อะแฮ่มๆ ต่อมอยากรู้ทำงานในบัดดล (555) เลยไป Search ดูจากกรมการขนส่งทางบกว่ามีที่ไหนมั่ง
และแล้วก็พบว่า
ปัจจุบันโรงเรียนสอนขับรถยนต์เอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมการขนส่งทางบก
ให้เป็นผู้ทำการสอบใบขับขี่ได้เองมีอยู่ 7 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนสอนขับรถ ยูพีดี กรุงเทพฯ โรงเรียนสอนขับรถแสงอาทิตย์ กรุงเทพฯ
โรงเรียนสอนขับรถ ไอดี ไดร์ฟเวอร์ จ.ขอนแก่น โรงเรียน อุดรสอนขับรถ จ.อุดรธานี
โรงเรียนสอนขับรถเขาตันหยง จ.นราธิวาส และ โรงเรียนท่ากลางสอนขับรถยนต์ จ.ตรัง
อืมม..แสดงว่าเดี๋ยวนี้ไอ้เจ้า One stop service นี่แพร่หลายมาถึงโรงเรียนสอนขับรถยนต์แล้วสิเนี่ย..หุหุ





Paid search คืออะไร

Paid search หรือ Search Engine advertising เป็นการซื้อพื้นที่โฆษณาในเสิร์ชเอนจิน หากผู้ใช้ค้นหา
คำหลักหรือคีย์เวิร์ด (Key word) ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเจ้าของสินค้าหรือบริการต่างๆ
 โฆษณาของธุรกิจเหล่านั้นจะปรากฎในหน้าแรกให้ทันที ทั้งนี้ผู้ลงโฆษณาจะจ่ายค่าโฆษณาตามจำนวนครั้งที่ผู้ใช้คลิกโฆษณาเพื่อเข้าไปชมในเว็บไซต์ (Pay Per Click : PPC) ของธุรกิจเท่านั้น
โดยเสิร์ชเอนจินที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ได้แก่ Google AdWords, Yahoo! Search Marketing และ Microsoft AdCenter เป็นต้น


การทำ Paid search ใน Google หรือที่เรียกว่า Google Adwords

(ภาพจาก Google)


SEO คืออะไร

Search Engine Optimization (SEO) คืออะไร ??? เห็นฮิตกันเหลือเกิ๊นนน ตอนนี้มีผู้ให้บริการ รับทำ SEO เกิดขึ้นมากมายราวกับดอกเห็ด...พูดให้เข้าใจง่ายๆ SEO หมายถึง การปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้เว็บไซต์ของเราถูกจัดไว้เป็นอันดับต้นๆ ของเสิร์ชเอนจิน เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ทำให้ผู้ใช้บริการเสิร์ชเอนจินมองเห็นเว็บไซต์ของเราได้ง่าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของเราได้รับการคลิกจากผู้ใช้บริการมากขึ้น ปัจจุบันนี้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาหรือเสิร์ช (Search) ได้หลายวิธี เช่น Contextual Search, Image Search, Video Search เป็นต้น (ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดลอง Search อะไรซักอย่างจาก Google แล้วหน้าแรกที่แสดงออกมา...น่าจะประมาณ 10 อันดับแรกเป็นผลมาจากการทำ SEO ที่ดีนั่นเอง)
อ้อ..ถ้าสนใจหาความรู้เกี่ยวกับ SEO ลองเข้าไปศึกษาที่ thaiseoboard ดูเน้อ!! ข้อมูลเพียบเลยจ้า


การทำ SEO

(ภาพจาก Google)


Online Advertising คืออะไร

การโฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) ก็คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์ หรือ โปรโมทเว็บไซต์ (Promote Website) เห็นได้จากเว็บไซต์ดังๆ
ของประเทศไทย อย่าง Pantip, Kapook, Sanook, WeddingsquareSiamphone ฯลฯ
ต่างก็มีผู้ให้ความสนใจลงโฆษณาอย่างล้นหลาม ด้วยความคิดที่ว่ายิ่งเว็บไซต์นั้นๆมีผู้เข้ามาเยี่ยมชม
มากเท่าไหร่ โอกาสที่คนจะเข้ามาเห็นโฆษณาของผู้ลงโฆษณาจะมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
ได้ส่งผลให้การโฆษณาออนไลน์ในปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจเพิ่มขึ้น
เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค  โดยรูปแบบการโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่
Banner , Pop-ups , Pop-unders ,  Expandable Ads , Floating Ads , Interstitials ,
 Contextual ads, Blog , Paid search , Sponsorship , Rich Media , Video clip
และ Search Engine Optimization (SEO)


เส้นทางการทำโฆษณาออนไลน์

(ภาพจาก Google)

Affiliate คืออะไร

คาดว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า "Affiliate" กันมาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงไอที ที่อาจมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการทำ Affiliate Marketing (อิอิ) แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ หรือไม่เคยได้ยิน หรือไม่เคยคิดจะสนใจ ขอบอกว่าไอ้เจ้า Affiliate Marketing นี่ก็น่าสนใจไม่น้อยนะ แต่ต้องดักคอก่อนว่า "ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมันให้ดีพอก่อนลงมือทำ เพราะมิใช่ทุกคนจะร่ำรวยจากมัน"
การทำ Affiliate Marketing นั้นก็เปรียบตัวเราเหมือนเซลล์ ซึ่งถ้าเราสามารถ Promote Links ของเจ้าของสินค้าหรือบริการต่างๆ ตลอดจนแนะนำให้ลูกค้าเข้ามาร่วมทำธุรกรรมกับเว็บไซต์หรือบล็อกของสินค้าหรือบริการนั้นๆได้มากเท่าไหร่ เช่น การคลิก การซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ การสมัครสมาชิกหรือบริการต่างๆ เจ้าของสินค้าหรือบริการก็จะจ่ายค่าคอมมิชชันให้กับเรามากขึ้นเท่านั้น
 แต่อย่างไรก็ตามเซลล์ที่ดีก็ย่อมต้องมีข้อมูลที่มากพอเพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่จะขายอย่างถูกต้อง
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่งขัน เป็นต้น
โดย Affiliate ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ Amazon , CJ , Ebay, Clickbank และ GDI

การทำ Affiliate Marketing
 (ภาพจาก Google)


ทนายความ...นักบุญหรือปีศาจ

ที่เกริ่นเช่นนี้มิได้มีเจตนาร้ายใดๆต่ออาชีพทนายความ (Lawyer) เพียงแต่เป็นถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมานมนาน ถ้าจะให้วิเคราะห์ที่มาของถ้อยคำนี้ อาจเป็นเพราะอาชีพทนายความมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายอย่างสูง ทนายความที่เก่งแต่ไม่มีคุณธรรมอาจสามารถชี้ชะตา กลับผิดเป็นถูก
กลับดำเป็นขาวให้กับคดีต่างๆได้ก็จะกลายเป็นปีศาจ (ล่ะมั้ง)
ในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่นอเมริกา การฟ้องร้องมีอัตราที่สูง เพราะคนของเค้ารักษาสิทธิยิ่งชีพ
เอะอะเป็นฟ้อง เอะอะเป็นฟ้อง 
 ด้วยเหตุนี้ความต้องการและราคาค่าบริการของทนายความในอเมริกาจึงสูงปรี๊ดดดดด
มาถึงประเทศไทยกันบ้าง วันก่อนไปเจอเว็บไซต์ทนายความที่รวบรวมเกี่ยวกับ สำนักกฎหมายทนายความ การบัญชีและภาษีอากร นักสืบ ไว้เยอะมากกกก...เลยอดคิดไม่ได้ว่า
เดี๋ยวนี้คนไทยให้ความสนใจใช้บริการเหล่านี้กันมากขึ้นแล้วสิเนี่ย
ต่อไปอาชีพทนายความในไทยแลนด์อาจจะเฟื่องฟูเหมือนอเมริกาก็ได้นะ
แต่ก็หวังว่าทนายความของสยามเมืองยิ้มจะเป็นนักบุญมากกว่าปีศาจเน้อออออ!!